Vernier Caliper

Vernier Caliper
Vernier Caliper วัดชิ้นงานด้วยความละเอียด 0.01mm

วันพฤหัสบดีที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2558

ไมโครมิเตอร์ เครื่องวัดละเอียด

        ไมโครมิเตอร์  เป็นเครื่องวัดละเอียด  จึงควรวัดด้วยความถนุถนอม  ไม่ควรใช้กำลัง เราสามารถใช้ไมโครมิเตอร์วัดความหนาของกระดาษ  เส้นผ่าศูนย์กลางของเส้นลวด    และทรงกลมขนาดเล็ก

        ไมโครมิเตอร์ ถูกประดิษฐ์ขึ้นโดย  นาย  William  Gascoigne  ในคริสตวรรษที่  17      ส่วนประกอบต่างๆแสดงดังรูปข้างล่าง

ไมโครมิเตอร์
ส่วนประกอบ ไมโครมิเตอร์

        ก่อนใช้ไมโครมิเตอร์วัด  ส่วนที่ใช้ในการสัมผัส  ควรเป็นผิวที่สะอาด   และตรวจดูว่ามาตราส่วนเป็นศูนย์จริงหรือไม่   เมื่อผิวของ  แอนวิล  (Anvil)  กับสปินเดิล  (Spindle)  สัมผัสกัน

        ข้างในของทิมเบิล  (thimble)  ทำด้วยสกูร  มี ระยะพิทซ์  (Pitch) เท่ากับ  0.5  มิลลิเมตร   ดังนั้นช่องว่างของแอนวิลกับสปินเดิล   จะเปลี่ยนไป  0.5  มิลลิเมตร ต่อการหมุน  1  รอบของทิมเบิล  

        แบ่งสเกลของทิมเบิลออกเป็น  50  ส่วน เท่าๆกัน  แต่ละส่วนมีระยะห่างกัน  0.1  mm  ( ได้จาก  1/50  ของ 0.5  mm  =   0.01  mm )

        เวลาต้องการวัด  ให้นำวัตถุวางไว้ระหว่างแอนวิล  กับสปินเดิล   หมุนแรทเช็ท  (ratchet)  จนวัตถุถูกจับไว้ตรงกลาง  (จนได้ยินเสียงคลิกหนึ่งครั้ง)

        ขนาดของวัตถุให้ดูจาก  สลีฟ (sleeve)  แต่ละช่องของสเกลห่างกัน  0.5 mm   ( ถ้าด้านหนึ่งเป็นหน่วย มิลลิเมตร  อีกด้านหนึ่งเป็นหน่วยครึ่งมิล  )   ในรูปบนทิมเบิลเลยสเกล  6.5  mm  มาแล้ว  แต่ยังไม่ถึง  7  mm   ดังนั้นขนาดของวัตถุอยู่ระหว่าง  6.5 mm   ถึง  7.0  mm   ต่อจากนั้นให้ดูสเกลของทิมเบิลชี้ที่  0.07  mm  ดังนั้นขนาดของวัตถุที่แท้จริงคือ

6.5 + 0.07 = 6.57 mm

        ตรงนี้ต้องระวังหน่อย  ถ้าค่าบนทิมเบิลอ่านได้น้อยกว่า 10  ยกตัวอย่างเช่น  8   เราจะอ่านได้เท่ากับ  0.08  mm  ไม่ใช่   0.8  mm  นะครับ


CR : ภาควิชาฟิสิกส์ราชมงคล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น