Vernier Caliper

Vernier Caliper
Vernier Caliper วัดชิ้นงานด้วยความละเอียด 0.01mm

วันจันทร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

5 เทคนิคเลือกซื้อ พาวเวอร์แบงค์ แบตเตอรี่สำรอง

           ยุคนี้สมาร์ทโฟนแข่งกันบางเบา และ มาพร้อมกับแบตที่เบาบาง ในสเปคบอกว่าใช้ได้ 1 วันเหลือๆ แต่พอใช้งานจริงแบบหนักๆก็เหลือแบบขีดแดงๆจนผู้อดเสียวไม่ได้ว่าจะกลับถึงบ้านก่อนหรือแบตจะหมดก่อนกันแน่ พาวเวอร์แบงค์ หรือแบตเตอรี่สำรองจึงกลายเป็นแกดเจ้ดที่หลายคนพกติดตัวไว้เพื่อไม่ให้ประสบปัญหาแบตมือถือหมดกลางทาง และนี่คือ 5 เทคนิคเลือกซื้อ พาวเวอร์แบงค์ ให้ถูกใจครับ

พาวเวอร์แบงค์
พาวเวอร์แบงค์ ยี่ห้อ Yoobao
1.ความจุของแบตเตอรี่สำรอง ซัก 6,000-10,000 mAH กำลังเหมาะ ความจุของแบตเตอรี่คือตัวเลขที่บ่งบอกว่า พาวเวอร์แบงค์ มีพลังงานสะสมอยู่ในนั้นมากแค่ไหน ในปัจจุบันผู้ผลิตหลายเจ้าเน้นขุมพลังทะลุโลก 10,000+ mAH แต่ในความเป็นจริงแล้วเราไม่มีความจำเป็นต้องใช้ไฟมากขนาดนั้น เอาแค่ซัก 2-3 เท่าของแบตเตอรี่สมาร์ทโฟนก็เกินพอแล้ว(โดยส่วนใหญ่แบตเตอรี่สมาร์ทโฟนจะอยู่ที่ 2000-3000 mAH) เพราะยิ่งจุไฟได้มากเท่าไหร่ตัวเครื่อง พาวเวอร์แบงค์ ก็จะยิ่งใหญ่และหนักกระเป๋ามากขึ้นเท่านั้น


2.หากพกไว้สำรองใช้งานวันต่อวัน 3000-5000 mAh ก็ใช้ได้เช่นกัน ยิ่งความจุยิ่งน้อย พาวเวอร์แบงค์ ยิ่งมีขนาดเล็ก ใครที่รักความสะดวกพกพา การเลือกใช้พลังงานน้อยๆก็น่าสนใจ จากประสบการณ์การใช้งานจริง 3000 mAH ก็ยืดอายุสมาร์ทโฟนให้แบตเต็มได้อีก 1 รอบพอดี ถ้าไม่จำเป็นต้องชาร์จหลายเครื่องหรือต้องชาร์จหลายวัน เลือกตัวเล็กหน่อยก็ได้ครับ

พาวเวอร์แบงค์
พาวเวอร์แบงค์ ยี่ห้อ Seastar

3.มีปลั๊กในตัวสะดวกกว่า แม้ราคาสูงขึ้น ส่วนใหญ่แล้ว พาวเวอร์แบงค์ จะมาพร้อมสายชาร์จ USB แต่ก็มีบางรุ่นที่มาพร้อมปลั๊กในตัว คืองัดขั้วออกมาแล้วต่อกับเต้าเสียบได้เลย เช่น Fluxmob Bolt ที่เคยรีวิวไป หากใครต้องการลดปริมาณสายชาร์จลงเพราะมีสายชาร์จมือถือ แท็บเล็ต พาวเวอร์แบงค์ โน๊ตบุ๊ค ฯลฯ เต็มกระเป๋าอยู่แล้ว การเลือกซื้อแบบมีปลั๊กในตัวก็ลดความวุ่นวายลงไปได้อีกนิด


 4.แบรนด์ดังๆที่น่าเชื่อถือ เก็บไฟได้นานกว่า ใครที่เคยใช้พาวเวอร์แบงค์รุ่นถูกๆไม่กี่ร้อยน่าจะเคยประสบเหตุการณ์ชาร์จมาจนเต็ม ตกเย็นไฟไม่เหลือกันมาบ้างแล้ว อาการนี้เกิดขึ้นเพราะพาวเวอร์แบงค์ทุกตัวเมื่อถอดออกจากปลั๊กมันจะทำการคายประจุไฟที่เก็บเอาไว้ออกเอง พาวเวอร์แบงค์ที่เก็บประจุได้นานกว่า ทนกว่า จะมีต้นทุนการผลิตที่สูงกว่าพาวเวอร์แบงค์ที่เก็บไฟได้เยอะแต่คายประจุไว นี่เองเป็นเหตุผลว่า ทำไมบางแบรนด์ราคาแพงกว่าเจ้าอื่นหลายร้อยทั้งที่ความจุไฟ(mAH)น้อยกว่า



5.อัตราการรับไฟเข้าและอัตราปล่อยไฟออกควรอยู่ที่ 2.1 A หากพลิกดูสเปคของ พาวเวอร์แบงค์ ตามกล่อง เราจะเห็น Input (อัตราการรับไฟเข้า) และ Output (อัตราการปล่อยไฟออก) บางรุ่นที่ไฟเข้า(input) DC 5V – 1A อาจต้องชาร์จกันยาวนาน 10 กว่าชม.ถึงจะเต็ม และรุ่นที่ไฟออก(output) DC 5V – 1A มักจะประสบปัญหาปล่อยไฟเข้าแท็บเล็ตไม่ทันคือเสียบชาร์จแล้วแต่แบตก็ยังค่อยๆลดลงเรื่อย ดังนั้นเวลาเลือกซื้อ ควรเลือกซื้อที่เป็น DC 5V – 2.1A ทั้งเข้าและออกครับเผื่อเอาไว้ชาร์จแท็บเล็ตด้วย ส่วนใครที่เอาไว้ชาร์จแต่สมาร์ทโฟน ไฟออก DC 5V – 1A ก็น่าจะเพียงพอแล้ว เพราะส่วนใหญ่ขั้วตัวรับของสมาร์โฟนจะรับได้ที่ 1A ต่อให้ไฟออกจากพาวเวอร์แบงค์มา 2.1 A ก็ไม่ได้เร็วขึ้นสองเท่าแต่อย่างใด อ นึ่งมีหลายกรณีที่บอกว่า “ผมชาร์จ 2.1A ไวกว่า 1A นั้น อาจเกิดได้จาก 2.1A ไม่ใช่ 2.1A แท้คือพาวเวอร์แบงค์ปล่อยประจุมา1.4-1.5A พอเจอกับขั้วรับมือถือมันเลยตัดมาที่ 1A ในทางเดียวกันตัวปล่อย output 1A อาจปล่อยมาแค่ 0.6-0.7A จึงเป็นเหตุให้เราเห็นว่าชาร์จช่อง 2.1 ไฟเต็มเร็วกว่านั่นเอง

CR : Mthai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น